การบ่มเพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ของชุมชนแอโก๋ – แสนคำลือ ด้วยกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษา (The Cultivation of Change Agents amongst the Youth in Aeko – Saenkumlue Village, using the Contemplation-oriented Transformative Facilitation)

Hand

Experiences

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี และ คณะ

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเรื่อง การบ่มเพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ของชุมชนแอโก๋ – แสนคำลือ ด้วยกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษา เป็นการวิจัยเชิงทดลองคล้ายธรรมชาติ โดยความสำคัญอยู่ที่การจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาให้แก่ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่คัดเลือกมาเป็นผู้เข้าร่วมการวิจัยแบบเฉพาะเจาะจง โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านในอันเป็นศักยภาพภายในของผู้เข้าร่วม ประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงงานต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนชุมชนอันเป็นศักยภาพภายนอกของผู้เข้าร่วม และผลักดันให้เกิดการสื่อสารและเรียนรู้ร่วมกันกับชาวบ้านของแอโก๋ – แสนคำลือ ผลของการวิจัยชี้ว่า กลุ่มผู้เข้าร่วมเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านใน ได้แก่ การเริ่มที่จะสื่อสารความรู้สึกภายในออกมาอย่างซื่อตรง ความกล้าและมั่นใจในการพูดการแสดงออกต่อหน้าสาธารณะ การเริ่มประคองสติและควบคุมกาย / ใจให้มีความสงบเย็น การเริ่มเห็นความสำคัญและแสดงออกในลักษณะของการเอาใจเขามาใส่ใจเราและการพึ่งพาอาศัยกัน การได้รับแรงบันดาลใจในการเป็นผู้นำที่ดี และการมีสัมพันธภาพที่มั่นคงดีงามกับบุคคลใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ยังไม่เกิดมุมมองร่วมที่เชื่อมโยงพลังของกลุ่มเข้าด้วยกันให้สามารถขับเคลื่อนงานเชิงระบบในภาพรวมได้ ส่วนผลสัมฤทธิ์ภายนอกนั้นแม้กลุ่มสามารถพัฒนาทักษะของการพูดการแสดงออกต่อหน้าสาธารณะได้ดี รวมถึงให้ความสำคัญและฝึกฝนด้านการทำบัญชีครัวเรือนและการเขียนโครงการอย่างจริงจัง แต่กลุ่มก็ยังไม่สามารถรวมตัวเพื่อริเริ่มงานเชิงระบบได้ ส่งผลให้การขับเคลื่อนงานต่าง ๆ เพื่อชุมชนยังไม่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมสื่อสารและพบปะกันระหว่างกลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัย คณะผู้วิจัย และชาวบ้าน สามารถสร้างการสานสัมพันธ์ และปรับทัศนคติให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาจกล่าวได้ว่า ผลของกระบวนการเรียนรู้ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของจิตสำนึกของผู้เข้าร่วมจนส่งผลดีต่อระดับสัมพันธภาพใกล้ชิด แต่ยังไปไม่ถึงระดับชุมชน / สังคมโดยรวม ผู้วิจัยได้ให้แนวทางการเรียนรู้เชิงลึกต่อเนื่องเพื่อการยกระดับจิตสำนึกและพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้มีความสมบูรณ์ โดยประกอบด้วยกรอบการดำเนินงาน 3 ด้าน คือ การพัฒนาศักยภาพมิติด้านในขั้นสูง การเชื่อมโยงกับรากเหง้าและวิถีชีวิตเพื่อเข้าถึงคุณค่าและเป็นแบบอย่างที่ดีงาม และการฝึกฝนทักษะการเป็นกระบวนกร

ปีที่ตี่พิมพ์: 2557

แหล่งข้อมูล: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

ฉบับเต็ม: การบ่มเพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ของชุมชนแอโก๋ แสนคำลือ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Articles

สุปรียส์ กาญจนพิศศาล และ ปฏิพัทธ์ อนุรักษ์ธรรม

การศึกษาทัศนคติของกระบวนกร ผู้ป่วยและผู้ดูแล ที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้ไพ่ฤดูฝน (A Study of Facilitators, Patients and Caregivers’ attitudes towards Learning Process of Empathy Card  for Patients and Caregivers)

Heart

Experiences Non-Religion Tools

Articles

อริสา สุมามาลย์ รศ.ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา และ ดร.หิมพรรณ รักแต่งาม

การเสริมสร้างเป้าหมายในชีวิตของนักศึกษาด้วยจิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้ของผู้ใหญ่: กระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญและปัจจัยแห่งความสำเร็จ

Hand

Experiences Practical

Articles

Xinyue Ren

Contemplative pedagogy for positive engagement in online teaching and learning in higher education

Head

Concept/Theory Experiences

แชร์

แชร์ผ่านช่องทาง

หรือคัดลอก URL