การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต รายวิชาจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Hand

Experiences Practical

อริสา สุมามาลย์ และ สาวิตรี เถาว์โท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต รายวิชาจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะชีวิต และความพึงพอใจของนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะชีวิต และแบบสอบถามความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 36 คน จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 83.45/82.66 2) มีจำนวนนักศึกษาที่ได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 80 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 69.45 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมด ( = 33, S.D.=3.2) 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะชีวิตหลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับมาก ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ งานวิจัยนี้ได้นำหัวใจสำคัญของกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา ได้แก่ การฝึกสติ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง การใคร่ครวญทบทวนตนเอง และการพูดคุยและรับฟังกันและกันอย่างไม่ตัดสิน การสร้างความไว้วางใจระหว่างครูกับศิษย์ฯลฯ มาออกแบบเป็นกิจกรรมการเรียนการสอน 7 แผน ซึ่งงานวิจัยอื่น ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ โดยควรใส่ใจไม่เพียงแต่รูปแบบกิจกรรมเท่านั้น แต่ใส่ใจที่หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ด้วย

ปีที่ตีพิมพ์: 2561

แหล่งข้อมูล: Journal of Education Studies, Chulalongkorn University Vol. 46 Issue. 2 

ฉบับเต็ม: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/131883

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Articles

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี และ คณะ

การบ่มเพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ของชุมชนแอโก๋ – แสนคำลือ ด้วยกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษา (The Cultivation of Change Agents amongst the Youth in Aeko – Saenkumlue Village, using the Contemplation-oriented Transformative Facilitation)

Hand

Experiences

Articles

สุปรียส์ กาญจนพิศศาล และ ปฏิพัทธ์ อนุรักษ์ธรรม

การศึกษาทัศนคติของกระบวนกร ผู้ป่วยและผู้ดูแล ที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้ไพ่ฤดูฝน (A Study of Facilitators, Patients and Caregivers’ attitudes towards Learning Process of Empathy Card  for Patients and Caregivers)

Heart

Experiences Non-Religion Tools

Articles

ชลลดา ทองทวี และ คณะ

โครงการวิจัยและจัดการความรู้จิตตปัญญาศึกษา

Head

Concept/Theory

แชร์

แชร์ผ่านช่องทาง

หรือคัดลอก URL