การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญา (Capacity Building of Educators: Contemplative Learning Approaches)

Head

Compassion Concept/Theory Experiences Feeling&Emotional Relationship

ชัชวาลย์ ศิลปกิจ และ คณะ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันสังคมไทยมีความตื่นตัวต่อการปฏิรูปการศึกษาและแนวทางการพัฒนาการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 ในการสาระสาคัญของการปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ละเลยคุณภาพภายในคือ “จิตวิญญาณความเป็นครู” รวมทั้งการสร้างชุมชนการเรียนรู้ที่ช่วยหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณความเป็นครูและการพัฒนาศักยภาพอย่างเป็นองค์รวม โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อรวบรวมและสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครือข่ายและชุมชนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา 2) เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยมาพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change agent) 3) เพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายและชุมชนการเรียนรู้ของบุคลากรทางการศึกษาแนวจิตตปัญญา

โครงการนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบไปด้วยการศึกษาทบทวนวรรณกรรม การจัดเวทีการเรียนรู้ 3 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การเขียนบันทึก กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 63 คน ผลการวิจัยพบว่าผู้เข้าร่วมเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก ปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น กล่าวโดยสรุปคือผู้เข้าร่วมเกิดพัฒนาในด้าน (1) สติในชีวิตประจาวัน (2) การเข้าใจและยอมรับตนเอง (3) ความเข้าใจ ความรัก และความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ (4) การเข้าใจและยอมรับความเป็นจริงตามธรรมชาติ (5) การเกิดสมดุลในตนเอง (6) การมีเครื่องมือที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างหลากหลาย และ (7) ชุมชนปฏิบัติและการพัฒนาเครือข่าย ปัจจัยที่นำไปสู่ชุมชนการเรียนรู้มี 8 ประการคือ (1) อุดมการณ์ส่วนตัวของสมาชิก (2) กระบวนการเรียนรู้ของสมาชิก (3) การมีเป้าหมายร่วมกัน (4) การเชื่อมโยงกัน (5) กระบวนการเรียนรู้ของกลุ่ม (6) บริบทหรือพื้นที่ทางาน (7) การสนับสนุนจากองค์กรและ (8) ทรัพยากร ข้อค้นพบนี้ไปสู่ข้อสรุปที่สำคัญคือ การสร้างชุมชนการเรียนรู้และเครือข่ายของอาจารย์ระดับอุดมศึกษาด้วยการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษา เอื้อต่อการบ่มเพาะจิตวิญญาณความเป็นครูและช่วยให้เกิดการพัฒนาทั้งคุณภาพภายในและคุณภาพภายนอก คือ ความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ปีที่ตี่พิมพ์: 2556

แหล่งข้อมูล: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

ฉบับเต็ม: การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญา

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Articles

ชเนตตี ทินนาม

โครงการวิจัยพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในการสอนวิชาจริยธรรมสื่อ 

Hand

Experiences

Articles

Xinyue Ren

Contemplative pedagogy for positive engagement in online teaching and learning in higher education

Head

Concept/Theory Experiences

Articles

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี และ คณะ

การบ่มเพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ของชุมชนแอโก๋ – แสนคำลือ ด้วยกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษา (The Cultivation of Change Agents amongst the Youth in Aeko – Saenkumlue Village, using the Contemplation-oriented Transformative Facilitation)

Hand

Experiences

แชร์

แชร์ผ่านช่องทาง

หรือคัดลอก URL