Articles

โครงการวิจัยพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในการสอนวิชาจริยธรรมสื่อ 

Hand

Experiences

ชเนตตี ทินนาม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง(Transformative Learning)ในการสอนวิชาจริยธรรมสื่อ” ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีอาจารย์ผู้สอนจริยธรรมสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าร่วมอบรมโครงการ “หยั่งรากจิตตปัญญา (contemplative education) สู่สังคมแห่งความสุข ปีที่ 3” เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 18 คน มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1.เพื่อบูรณาการการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) กับการสอนจริยธรรมสื่อ 2.เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้วิชาจริยธรรมสื่อโดยใช้กระบวนการแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) 3.เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงภายในของอาจารย์ผู้สอนจริยธรรมสื่อหลังเข้าร่วมกระบวนการและพัฒนารูปแบบการสอน ผลการศึกษา พบว่า

1. การบูรณาการการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) กับการสอนจริยธรรมสื่อ 

1.1 การบูรณาการการ “รู้จักตัวเอง”กับจริยธรรมสื่อ 
      สื่อที่รู้จักตัวเองควรมีการสำรวจตัวเองเพื่อนำสู่การเป็นสื่อที่ดี การมีสติ การเท่าทันความคิด การมีจิตที่ดีงาม สามารถปล่อยวางอัตตา ออกจากกรอบ และกล้าเปลี่ยนแปลง 

1.2 การบูรณาการ “การเข้าใจผู้อื่น”กับจริยธรรมสื่อ 
      สื่อควรมีการเคารพตนเองและผู้อื่น เปิดใจรับฟัง ไม่ตัดสิน ลดอคติ ลดอัตตา และเพิ่มความเมตตา 

1.3 การบูรณาการ “การเชื่อมโยงธรรมชาติและสรรพสิ่ง”กับจริยธรรมสื่อ 
      การเคารพ อ่อนน้อม และให้ความรักต่อสรรพชีวิต มีความหมายต่อการเป็นสื่อที่ดี เพราะนำไปสู่การเห็นความเชื่อมโยงของมนุษย์กับธรรมชาติและสังคม เกิดความตระหนักรู้ภายในถึงผลกระทบที่เชื่อมโยงถึงกันทั้งหมดเป็นองค์รวม ทำให้เกิดสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม

2. รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้วิชาจริยธรรมสื่อโดยใช้กระบวนการแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) มีจำนวน 8 กิจกรรม ซึ่งบูรณาการเนื้อหาจริยธรรมสื่อในด้าน สิทธิมนุษยชน ความถูกต้อง (Accuracy) ภววิสัย(objectivity) ความรับผิดชอบต่อสังคม(social responsibility) และผลประโยชน์ทับซ้อน(conflict of interest) เข้ากับการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในด้าน การรู้จักตนเอง การเข้าใจผู้อื่น และการเห็นความเชื่อมโยงของธรรมชาติและสรรพสิ่ง 

3. การเปลี่ยนแปลงภายในของอาจารย์ผู้สอนจริยธรรมสื่อหลังเข้าร่วมกระบวนการและพัฒนารูปแบบการสอน มี 3 ด้าน คือ 3.1 การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในตัวเอง 3.2 การรู้จักตนเองนำมาสู่การเข้าใจผู้อื่น 3.3 เกิดจิตสำนึกต่อสังคม

ปีที่ตีพิมพ์: 2562

แหล่งข้อมูล: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 

ฉบับเต็ม: โครงการวิจัยพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในการสอนวิชาจริยธรรมสื่อ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Articles

สุปรียส์ กาญจนพิศศาล จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร และ สมสิทธิ์ อัสดรนิธี

โครงการวิจัยการประเมินสุขภาวะทางปัญญาในชีวิตและการทำงานของภาคีเครือข่ายธนาคารจิตอาสา (Spiritual Health Evaluation from Life and Work of JitArsa Bank Volunteer Organization Partners)

Heart

Experiences

Articles

author-1

การบ่มเพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ของชุมชนแอโก๋ แสนคำลือ

Hand

Concept/Theory Non-Religion

Articles

ชลลดา ทองทวี และ คณะ

โครงการวิจัยและจัดการความรู้จิตตปัญญาศึกษา

Head

Concept/Theory

แชร์

แชร์ผ่านช่องทาง

หรือคัดลอก URL