บทคัดย่อ
โครงการวิจัยการประเมินสุขภาวะทางปัญญาในชีวิตและการทางานของภาคีเครือข่ายธนาคารจิตอาสามีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงมิติสุขภาวะทางปัญญาในชีวิต และการทำงานของบุคคลที่ผ่านการเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาศักยภาพของธนาคารจิตอาสา ตามแนวทางวิจัยปรากฏการณ์วิทยา โดยทำการสัมภาษณ์และสนทนากับกลุ่มตัวอย่างจานวน ๒๑ คน และ (๒) เพื่อศึกษาแนวทางการประเมินแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะทางปัญญาในชีวิตและการทางานของบุคคลที่ผ่านการเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาศักยภาพของธนาคารจิตอาสา โดยนำผลจากวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ และข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิมาใช้ออกแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเครื่องมือสืบค้นแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะทางปัญญา ผลของการวิจัยพบว่า ๑๑ หมุดหมายที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงมิติสุขภาวะทางปัญญาเรียงตามลาดับ คือ รู้สึกตัว เปิดใจ กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เผชิญหน้า เห็นกรอบโลกทัศน์ ศิโรราบ เกิดดวงตาคู่ใหม่ ทำตามบทบาทที่สอดคล้องกับคุณค่า เบิกบานมั่นคง ยังประโยชน์ และดำเนินชีวิตที่สัมพันธ์เชื่อมโยง โดยรูปแบบการสืบค้นเป็นการสนทนาด้วยคำถามชวนคุยแบบเปิดกว้าง ต่อด้วยการถามตามหมุดหมายทีละอัน แล้วจึงสรุปปิดถึงการเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏจากประเด็นที่สนทนา ซึ่งข้อควรระวัง คือ การนำเครื่องมือไปใช้ในการตัดสินประเมินความดีของผู้อื่น และเพื่อให้เครื่องมือนี้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นและใช้งานได้จริงในบริบทที่แตกต่างกัน คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการจัดเก็บข้อมูลกับกลุ่มบุคคลจากหลากหลายวิชาชีพจำนวน ๑๐๐ คนขึ้นไป การจัดทำหลักสูตรเพื่อสร้างวิธีการและคณะทำงานที่จะสามารถใช้งานเครื่องมือนี้ได้อย่างเป็นระบบ การทดลองใช้เครื่องมือนี้กับผู้คนในวงกว้าง และจัดประชุมหารือร่วมกับผู้จัดกระบวนการถึงความเป็นไปได้ในการนำเครื่องมือไปใช้งานจริง
ปีที่ตีพิมพ์: 2561
แหล่งข้อมูล: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ฉบับเต็ม: การประเมินสุขภาวะทางปัญญาในชีวิตและการทำงานของภาคีเครือข่ายธนาคารจิตอาสา